|
หนองใน
หนองใน เป็นอีกหนึ่งโรคติดต่อที่มาจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน จึงสามารถรับเชื้อได้โดยง่ายแบบไม่ทันตั้งตัว และบ่อยครั้งผู้ป่วยมีข้อสงสัยว่าเมื่อเป็นแล้ว หนองในกี่วันหาย ? อาการจะรุนแรงมากน้อยแค่ไหน ? หรือโรคหนองในเป็นแล้วรักษาหายหรือไม่ ? เพื่อให้รู้จักโรคหนองในมากขึ้น และเรียนรู้วิธีป้องกันอย่างถูกต้อง เรามีคำตอบมาฝาก
โรคหนองใน คืออะไร
โรคหนองใน หรือ โรคหนองในแท้ (Gonorrhea) เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่พบได้บ่อยมากที่สุดอีกโรคหนึ่ง เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ Neisseria gonorrhoeae ซึ่งสามารถแพร่เชื้อผ่านทางเพศสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นทางช่องคลอด ปาก หรือ ทางทวารหนัก โดยที่การติดเชื้อนั้น อาจทำให้ผู้ติดเชื้อไม่แสดงอาการใดๆ เลยก็ได้
นอกจากนี้ โรคยังสามารถแพร่จากมารดาไปสู่ทารกผ่านการคลอดได้ เพราะหญิงที่ติดเชื้อบางคนไม่แสดงอาการ เพราะกว่าที่จะเริ่มติดเชื้อจนมีอาการที่สังเกตได้ เชื้อก็อาจแพร่กระจายโดยไม่รู้ตัว
สาเหตุโรคหนองใน
สาเหตุของโรคหนองในแท้ เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ “ไนซีเรีย โกโนเรียอี” (Neisseria gonorrhoeae) หรือมีอีกชื่อหนึ่งว่า “โกโนค็อกคัส” (Gonococcus ) ซึ่งสามารถตรวจพบได้ในน้ำอสุจิและน้ำในช่องคลอด จึงทำให้เชื้อโรคนี้แพร่ผ่านและติดต่อทางการมีเพศสัมพันธ์เป็นหลัก
เชื้อแบคทีเรีย ไนซีเรีย โกโนเรียอี ชนิดนี้สามารถเจริญได้ดีในที่ชื้นและที่อบอุ่นของระบบอวัยวะสืบพันธุ์มนุษย์ตั้งแต่ปากมดลูก มดลูก ปีกมดลูก ท่อปัสสาวะ ซึ่งพบทั้งในผู้ชายและผู้หญิง และยังสามารถเจริญเติบโตได้ในบริเวณอื่น ๆ ได้ เช่น ทวารหนัก เยื่อบุตา ช่องปากและคอ เชื้อจึงสามารถติดต่อทางปากได้ด้วย
การติดเชื้อจะเริ่มจากการสัมผัสเยื่อบุช่องปาก ช่องคลอด ทวารหนัก อวัยวะเพศ ที่มีเชื้อ โดยที่การสัมผัสอาจยังไม่มีการร่วมเพศ หรือ หลั่งอสุจิเลยก็ได้ และในหญิงที่เป็นโรคและมีเชื้อในช่องคลอด เชื้อสามารถแพร่จากช่องคลอดไปทหารหนัก และจากทหารหนักไปช่องคลอดได้เช่นกัน
อาการหนองใน
อาการที่ตรวจพบ ขึ้นอยู่กับบริเวณที่ติดเชื้อ และจะพบประมาณ 1- 3 วันหลังได้รับเชื้อ เช่น
ผู้ชายที่ติดเชื้อจะมีเมือกสีขาวขุ่น หรือ มีหนองข้นๆ ไหลออกจากท่อปัสสาวะ รอบๆ รูท่อปัสสาวะบวมแดง เวลาปัสสาวะจะขัดๆ และมีอาการเจ็บคอ คอแห้ง ปวดเมื่อยตามเนื้อตามตัวร่วมด้วย บางรายอาจมีไข้ได้ จากนั้น เมื่อเชื้อแพร่กระจายในระบบอวัยวะสิบพันธ์ จะเริ่มมีอาการปวดบวมอัณฑะได้ การติดเชื้อนี้มีผลต่อการมีบุตรยากในระยะยาวด้วย
เพศหญิงที่ติดเชื้อ ส่วนใหญ่ไม่แสดงอาการมากเหมือนเพศชาย พบประมาณ 10 วันหลังรับเชื้อ โดยอาการจะเริ่มมีของเหลวไหลออกมาจากช่องคลอด ประจำเดือนผิดปกติ รู้สึกขัดเวลาปัสสาวะ เจ็บที่กระดุกเชิงกรานเวลามีเพศสัมพันธ์ หรือ บางรายที่ติดเชื้อที่ทหารหนักก็จะมีของเหลวไหลออกมาจากทหารหนัก ร่วมกับอาการผิดปกติทางกาย เช่น เจ็บคอ คอแห้ง เมื่อยเนื้อเมื่อยตัว มีไข้ได้ และหากมีอาการปล่อยไว้ไม่ไปตรวจรักษา เชื้อก็จะแพร่เข้าระบอวัยวะสืบพันธ์และลุกลามไปที่มดลูก ท่อนำไข่และรังไข่ ในที่สุด ทำให้เกิดอุ้งเชิงกรานอักเสบ และเป็นหมันได้ในเวลาต่อมา
หนองในแท้-หนองในเทียม ต่างกันอย่างไร
โรคหนองในแท้ และ หนองในเทียม สามารถพบได้บ่อยในประเทศไทย โรคทั้ง 2 โรค เกิดจากเชื้อที่แตกต่างกัน แต่มีอาการคล้ายคลึงกัน
โรคหนองในแท้ : เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Neisseria gonorrhea สามารถติดต่อได้ทั้งชายและหญิงรวมทั้งทารกแรกเกิด เข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุท่อปัสสาวะในเพศชาย และทางปากมดลูกหรือท่อปัสสาวะในเพศหญิง หนองในแท้มีระยะฟักตัว 1-14 วัน หลังได้รับเชื้อ แต่ที่พบบ่อยคือ 3-5 วัน โรคหนองในแท้ สามารถติดต่อได้ทั้งจากการมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะทางปาก ช่องคลอดหรือทวารหนัก การร่วมเพศทางปากจึงสามารถติดเชื้อโรคนี้ได้ ทั้งนี้การจับมือหรือการนั่งฝาโถส้วม ไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อได้
อาการหนองในแท้
อาการหนองในของผู้ชาย : จะมีอาการปัสสาวะแสบและมีหนองไหล อาการอาจมีมากน้อยแล้วแต่บุคคล ในกรณีที่มีอาการรุรแรงมากมักมีอาการแทรกซ้อน ซึ่งจะเกิดหลังจากที่ได้รับเชื้อแล้ว 2-5 วัน เช่น รู้สึกระคายเคืองท่อปัสสาวะ หลังจากนั้นจะมีอาการปวดแสบเวลาปัสสาวะ มีหนองสีเหลืองออกจากท่อปัสสาวะ อัณฑะบวม อักเสบ
อาการหนองในของผู้หญิง : จะมีอาการตกขาวที่มีกลิ่นเหม็น มีหนองหรือมูกปนหนอง ปัสสาวะแสบขัด ปวดท้องน้อย ในบางรายอาจมีอาการอักเสบที่ท่อปัสสาวะ ปากมดลูก ช่องทวารหนัก หรืออาจรุนแรงไปถึงเกิดฝีที่ต่อมบาร์โธลิน เชื้อโรคอาจลุกลามไปยังโพรงมดลูก ปีกมดลูก ทำให้อุ้งเชิงกรานอักเสบ ต้นเหตุของการตั้งครรภ์นอกมดลูก และเป็นหมันได้
โรคหนองในเทียม : เป็นโรคติดเชื่อทางเพศสัมพันธ์อีกชนิดหนึ่ง ที่พบได้บ่อยรองจากโรคหนองในแท้ โดยมีสาเหตุจากการติดเชื้ออื่นๆ ที่นอกเหลือจากเชื้อ Neisseria gonorrhoeae ซึ่งอาจเกิดจากเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เชื้อโปรโตซัว หรือเชื้อไวรัสก็ได้ แต่ 40 % เกิดจากเชื้อ Chlamydia trachomatis โดย โรคหนองในเทียม นอกจากจะติดต่อทางเพศสัมพันธ์แล้ว ยังสามารถติดได้ในทารกแรกคลอด ซึ่งเกิดจากติดเชื้อจากมารดาในขณะตั้งครรภ์
อาการหนองในเทียม
อาการหนองในของหญิง : โดยส่วนใหญ่ผู้หญิงเป็นหนองในจะไม่ค่อยมีอาการแสดงอย่างชัดเจน อาจมีเพียงตกขาวผิดปกติ หรือปัสสาวะแสบขัดเท่านั้น ในขณะเดียวกันโรคจะเด่นชัดในผู้ชาย
อาการหนองในของผู้ชาย : ในระยะแรกของการรับเชื้อจะรู้สึกแสบๆ ที่ท่อปัสสาวะ และมีมูกออกเล็กน้อยเฉพาะในช่วงเช้าเท่านั้น ต่อมาจะมีอาการมากขึ้น คือมีอาการอักเสบ ปัสสาวะแสบขัด คัน ปวดแสบร้อนเวลาปัสสาวะ ระคายเคืองท่อปัสสาวะ หรือปวดหน่วงตรงฝีเย็บใกล้ทวารหนัก มีหนองซิม
อาการหนองในของทารก : ทารกแรกคลอดโดยมากจะเกิดการติดเชื้อที่ตา อาจพบอาการตาแดง ตาอักเสบ หรืออาจเกิดภาวะปอดอักเสบ
โดยรวมอาการทั้งในชาย และหญิง หากติดเชื้อในทวารหนัก จะอาการคัน ปวด เฉพาะเวลาขับถ่าย ในกรณีที่ติดเชื้อในช่องคอ อาจมีอาการเจ็บคอ อย่างไรก็ตามการติดเชื้อในตำแน่งใดๆ ก็ตาม อาจไม่มีอาการเลยก็ได้เช่นกัน
วิธีรักษาโรคหนองใน
การรักษาแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะกลุ่ม Ceftriaxone และ Azithromycin เมื่อได้รับยาอาการจะค่อยๆ ทุเลาลงใน 24 ชั่วโมง แพทย์จะให้ยารักษาประมาณ 1 สัปดาห์แล้วกลับมาตรวจซ้ำ ในช่วงที่กำลังรักษาให้งดการมีเพศสัมพันธ์เด็ดขาด เพราะสามารถแพร่เชื้อได้ และเสี่ยงต่อการอักเสบติดเชื้อ แม้แต่การใช้ถุงยางอนามัยก็ไม่ควร
หากมีสามีหรือภรรยา รวมถึงคู่นอน ควรจะแจ้งอีกฝ่ายว่าเป็นโรคแล้วรีบพามาตรวจรักษาพร้อมกัน และการรักษาต้องผ่านไปแล้ว 1 สัปดาห์มาตรวจซ้ำว่าไม่พบเชื้อจึงจะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ตามปกติ มิเช่นนั้น ท่านก็จะติดเชื้อซ้ำๆ ต้องรักษาไม่จบสิ้นจนกว่าจะหายขาดและไม่ได้รับเชื้ออีก
การป้องกันโรคหนองใน
การป้องกัน คือ การไม่สัมผัสเชื้อจากคนที่ติดเชื้อไม่ว่าด้วยวิธีใดก็ตาม ซึ่งโดยปกติเชื้อสามารถแฝงตัวอยู่ในร่างกาย โดยที่ไม่แสดงอาการก็ได้ หากพบเชื้อแล้ว 3 เดือนย้อนหลังกลับไป หากท่านทีความสัมพันธ์กับใครที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ควรจะแจ้งให้คนเหล่านั้นทราบด้วย เพื่อเข้ารับการตรวจรักษา ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อต่อไปยังผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อรายอื่นๆ เพราะคู่นอนที่มีการสัมผัสเชื้อไม่ว่าทางใดก็ตาม แม้กระทั่งทางปาก หรือ การสัมผัสอื่นที่ๆ อวัยวะเพศที่ติดเชื้อ ก็ต้องเข้ารับการตรวจเช่นกัน
ส่วนท่านที่เป็นแล้ว หรือ เคยเป็น ให้พึงระลึกไว้เสมอว่า การใช้ถุงยางอนามัยสำหรับโรคหนองในนั้น อาจไม่สามารถป้องกันโรคได้ เพราะโรคติดต่อด้วยการสัมผัสเชื้อได้ ทั้งทางปาก ช่องคลอด อวัยวะเพศ ทวารหนัก ดังนั้น การรักษาสุขภาพให้แข็งแรง มีเพศสัมพันธ์ที่เหมาะสมปลอดภัย จึงเป็นเรื่องที่สำคัญในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคหนองในต่อไป
การดูแลตัวเองขณะเป็นหนองใน
ในระหว่างที่ทำการรักษาโรคหนองใน ควรงดการร่วมเพศ รวมทั้งสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค อย่างน้อย 2-4 สัปดาห์ รวมทั้งพาคู่นอนไปตรวจโดยเร็วที่สุด รวมทั้งดูแลสุขภาพของตนเอง รักษาอวัยวะเพศและบริเวณใกล้เคียงให้สะอาดและแห้งอยู่เสมอ
ในผู้ชายไม่ควรรีดอวัยวะเพศเพื่อดูหนอง เพราะจะทำให้เกิดการอักเสบมากขึ้น ไม่ควรซื้อยารักษาตนเอง ไปรับการตรวจตามนัดทุกครั้ง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ นอกจากนี้ควรงดดื่มเหล้า-เบียร์และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด
ภาวะแทรกซ้อนจากการเป็นหนองใน ที่อาจเกิดขึ้นได้
ภาวะแทรกซ้อนของโรคหนองใน สามารถเกิดขึ้นได้ทั้ง โรคหนองในแท้ หนองในเทียม หากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที เช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคหนองใน จะสามารถติดเชื้อเอชไอวี หรือโรคเอดส์ได้ง่ายกว่าผู้ที่ไม่เป็นหนองใน (ทั้งในชายและในหญิง)
นอกจากนี้ยังมีภาวะแทรกซ้อนที่เกิดเฉพาะในผู้หญิงได้ คือ ทำให้มีบุตรยาก หรืออาจตั้งครรภ์นอกมดลูกที่มีอันตรายถึงชีวิตได้ บางรายมีอาการปวดท้อง มีไข้ และอาจทำให้เกิดถุงหนองในช่องท้องน้อย ในผู้ชายอาจก่อให้เกิดการอักเสบของท่อนำอสุจิ ให้มีบุตรยาก เชื้อโรคอาจแพร่กระจายเข้าสู่ข้อกระดูก หรือกระแสเลือด อันตรายต่อชีวิตได้เช่นกัน
การวินิจฉัยโรคหนองใน
เมื่อเกิดข้อสงสัยว่าจะเป็นโรคหนองหรือไม่ ควรเข้าพบแพทย์ โดยผู้หญิงสามารถเข้ารับการตรวจกับทางสูตินรีแพทย์ ส่วนในผู้ชายสามารถตรวจกับแพทย์เฉพาะทางโรคระบบทางเดินปัสสาวะ
ซึ่งสามารถตรวจได้ทั้งหนองในแท้และหนองในเทียม และมีวิธีที่ไม่ต่างกัน ผู้ชายจะใช้วิธีป้ายหนองจากท่อปัสสาวะ ส่วนผู้หญิงจะป้ายสารน้ำจากช่องคลอด เพื่อนำไปส่งตรวจด้วยย้อมสีและเพาะหาเชื้อแบคทีเรีย บางรายอาจมีการตรวจพิเศษทางห้องปฏิบัติการ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
Q&A รวมคำถามโรคหนองในที่พบบ่อย
หนองในอันตรายไหม
ความอันตรายของโรคหนองใน ขึ้นอยู่กับความใส่ใจดูแลสุขภาพ หากละเลย อาจเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น โรคข้ออักเสบติดเชื้อจากหนองใน อีกทั้งยังจะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคเอดส์และซิฟิลิส ได้มากกว่าคนทั่วไป สามารถรุนแรงถึงขั้นติดเชื้อในกระแสเลือดและเสียชีวิตได้
เป็นหนองในรักษาอย่างไร
ตามหลัก การรักษาโรคหนองใน จะเป็นการรักษาไปตามขั้นตอน และอาการแสดงของแต่ละบุคคล หลายคนสงสัย เป็นหนองในรักษายังไง ปัจจุบัน วิธีการรักษาหนองใน สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งเห็นผลได้ค่อนข้างดี แต่ในขณะเดียวกันก็อาจเกิดเชื้อโรคดื้อยาได้เช่นกัน
ดังนั้นได้เข้ารับการรักษาและได้รับยาแล้ว จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อติดตามผล สิ่งที่ควรทราบและทำความเข้าใจคือ ยาปฏิชีวนะอาจจะรักษาโรคให้หายได้ แต่ไม่สามารถ ซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหาย ซึ่งเกิดจากภาวะแทรกซ้อนได้ และสามารถกลับมาเป็นได้อีกหากกลับไปได้รับเชื้ออีกครั้ง นอกจากนี้ในบางรายแพทย์อาจแนะนำให้ทำการตรวจการติดเชื้อที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เชื้อเอชไอวี (HIV) หรือ โรคเอดส์
สงสัยว่าเป็นโรคหนองใน มีวิธีรักษาหนองใน เบื้องต้นอย่างไร
หากสังเกตอาการของตนเองแล้วพบว่ามีอาการปัสสาวะแสบขัด หรือมีอาการปวด หรือเกิดผื่นที่ไม่พึงประสงค์ขึ้นที่บริเวณอวัยวะเพศ อันดับแรกที่ควรต้องทำคือ ควรหยุดการมีเพศสัมพันธ์ แล้วรีบปรึกษาแพทย์
ในกรณีที่พบแพทย์แล้ววินิจฉัยว่าเป็น โรคหนองใน ให้เข้าทำการรักษาอย่างเคร่งครัดแลปฏิบัติตามที่แพทย์แนะนำ และเมื่อหลังได้รับการรักษาแล้ว ก็ควรป้องกันการกลับเป็นซ้ำอีกครั้ง และไม่ควรปิดบังคู่นอนถึงอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น เพื่อช่วยกันรักษาให้อาการหายดี โดยที่ไม่ขุ่นใจซึ่งกันและกัน
หนองในกี่วันหาย
เมื่อตรวจพบแล้วว่าได้รับเชื้อโรคหนองใน และเข้ารับการปรึกษาแพทย์พร้อมวางแผนการรักษา โดยส่วนใหญ่หลังจากที่ได้รับการรักษา อาการจะค่อยทุเลาเลง ภายใน 24 ชั่วโมง ยกเว้นในกรณีที่ติดเชื้อและเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ จำเป็นต้องทำการรักษาระยะหนึ่ง หรือหากรักษาไปแล้ว แต่อาการกลับไม่ดีขึ้น แนะนำให้กลับมาพบแพทย์อีกครั้ง
โรคหนองในทำให้เป็นเอดส์ได้ง่ายขึ้น
เนื่องจากโรคหนองใน มีความสัมพันธ์กับโรคเอดส์ จากข้อมูลทางการแพทย์ระบุว่า ผู้ป่วยหนองในจะมีโอกาสรับเชื้อ HIV ได้ง่ายกว่าคนปกติ ดังนั้น ผู้ป่วยโรคหนองใน จึงเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อ HIV
โรคหนองในรักษาหายไหม
โรคหนองในสามารถรักษาได้ด้วยการดูแลสุขภาพ รับประทายาตามแพทย์สั่ง แต่โรคหนองในก็สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีกเช่นกัน หากกลับไปมีพฤติกรรมเสี่ยงเช่นเดิม เช่น เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ มีเพศสัมพันธ์กับหญิงขายบริการโดยไม่ป้องกัน
เป็นหนองในมีเพศสัมพันธ์ได้ไหม
เมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคหนองในไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ จนกว่าจะหายดี อีกทั้งช่วงเวลาที่ทำการรักษาก็ไม่ควรร่วมเพศสัมพันธ์ด้วย แม้แต่การร่วมเพศที่ใช้ถุงยางอนามัยก็ไม่แนะนำ จนกว่าจะได้ผ่านการรักษามาแล้วอย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์
เป็นหนองในระหว่างตั้งครรภ์
หากเป็น โรคหนองในระหว่างตั้งครรภ์ จะส่งผลเสียต่อทารกเนื่องจากตอนคลอด ตัวทารกสามารถติดเชื้อโรคหนองในจากมารดาได้จากการสัมผัสเยื่อบุช่องคลอดของมารดา ซึ่งหากทารกได้รับเชื้อที่บริเวณดวงตา อาจจะทำให้ตาบอด บางรายอันตรายต่อชีวิตทารก ในกรณีคุณแม่ตั้งครรภ์ สงสัยว่าอาจจะติดเชื้อหนองใน ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม
สิ่งสำคัญที่สุดคือการป้องกัน โรคหนองใน ตั้งแต่แรก ด้วยการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย สวมถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันตัวเอง
นอกจากนี้ใครมีคู่นอนเพียงคนเดียวเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการติดต่อโรคหนองใน รวมถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ ด้วย ในกรณีที่เกิดโรคแล้วไม่ควรละเลย รีบปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการรักษาทันที
ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://www.bangkoksafeclinic.com/th/%E ... %E0%B8%99/
|
|